8 How to solve the problem of a toilet that won't flush?

Last updated: 23 Dec 2024  |  38 Views  | 

8 How to solve the problem of a toilet that won't flush?

ชักโครกกดไม่ลงเกิดจากสาเหตุ ดังนี้

1. ปัญหาจากการติดตั้ง
กระบวนการติดตั้งชักโครกเป็นขั้นตอนแรกเริ่มที่สำคัญ โดยปกติแล้ว ในการติดตั้งชักโครกจะต้องมีการติดตั้งท่อระบายอากาศลักษณะตัวที (T) ต่อจากท่อน้ำทิ้งสุขภัณฑ์และถังบำบัดน้ำเสีย เพื่อช่วยระบายน้ำ และระบายสิ่งปฏิกูลให้ไหลลงไปได้ง่าย หากติดตั้งปลายท่ออากาศต่ำกว่าระดับที่น้ำสามารถท่วมถึง หรือมีการติดวัสดุที่บริเวณปลายปากท่อจนทำให้อุดตัน ส่งผลให้ท่ออากาศทำงานได้ไม่ดี และไม่สามารถกดชักโครกลงได้ในที่สุด

กรณีที่ระดับความสูงปลายท่ออากาศต่ำกว่าระดับที่น้ำท่วม ต้องเดินท่อใหม่ให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม โดยอยู่ในระดับที่สูงกว่า 1.50 เมตร หรือถ้าจะให้ดี ควรให้สูงเกินหลังคาบ้านขึ้นไป เพื่อระบายกลิ่นอับรบกวน ส่วนกรณีการอุดตันบริเวณปลายปากท่อ ให้เอาสิ่งอุดตันนั้นออก หรือฉีดน้ำแรงๆ เข้าไปเพื่อทะลวงสิ่งอุดตันให้ไหลออกจากท่อระบาย

2. ชักโครกไม่ได้คุณภาพ
เรื่องคุณภาพของชักโคร ใครว่าไม่สำคัญ หากเลือกใช้ชักโครกที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การออกแบบระบบไหลเวียนน้ำในชักโครกไม่ดี ช่องระบายยุบตัวทำให้ช่องระบายน้ำแคบลง ก็มีผลทำให้การระบายน้ำไม่ดีและกดชักโครกไม่ลงได้เช่นกัน นอกจากนี้ชักโครกที่ไม่ได้คุณภาพ ยังสามารถก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ชักโครกแตกร้าว ปุ่มกดน้ำค้าง ทำให้น้ำไหลไม่หยุด เป็นต้น

3. น้ำในถังพักไม่พอ
อีกหนึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้คือ ปริมาณน้ำในถังด้านหลังชักโครกมีไม่เพียงพอสำหรับกดนั่นเอง โดยให้สังเกตลูกลอย ซึ่งเป็นตัวกำหนดปริมาณน้ำในถังชักโครก เมื่อลูกลอยลอยลงต่ำ เป็นการเปิดน้ำให้เติมเข้ามาในถัง เมื่อน้ำมีปริมาณเพียงพอแล้ว ลูกลอยจะลอยสูง แต่หากชักโครกมีอาการผิดปกติไปจากนี้ แสดงว่าลูกลอยอาจจะเสีย ซึ่งส่งผลให้ชักโครกกดไม่ลงได้

4. ชักโครกตัน
ชักโครกตันเกิดจาก การใช้งานชักโครกแล้วทิ้งวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติลงไป เช่น กระดาษชำระ เศษขยะ เศษอาหาร และผ้าอนามัย เป็นต้น โดยวัสดุดังกล่าวจะเข้าไปติดขวางในท่อระบาย จนไม่สามารถระบายน้ำออกได้ นำมาซึ่งปัญหาชักโครกกดไม่ลงนั่นเอง

5. บ่อซึมหรือบ่อเกรอะไม่ระบาย
บ่อซึม หรือบ่อเกราะเป็นส่วนที่รองรับน้ำจากชักโครก หากท่อระบายน้ำจากบ่อเกรอะ-บ่อซึมมีระดับต่ำกว่าท่อระบายน้ำสาธารณะ เมื่อระดับน้ำในท่อสาธารณะสูงขึ้น จะทำให้น้ำระบายได้ช้าลง หากฝนตกจนน้ำท่วมขัง น้ำก็จะค้างอยู่ในบ่อเกรอะ-บ่อซึม ซึ่งส่งผลให้แรงดูดชักโครกต่ำลงจนเกิดปัญหาชักโครกกดไม่ลงได้นั่นเอง ต้องรอให้น้ำลดระดับลง จึงจะสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

8 วิธีแก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลง
 

เมื่อเจอปัญหาชักโครกกดไม่ลง หลายคนอาจคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเรียกใช้บริการจากช่างเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เราสามารถแก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลงแบบง่ายๆ ด้วยของใกล้ตัว จะมีอะไรบ้าง ตามไปดูพร้อมกัน
 
 
1. เทน้ำร้อน
หลายคนอาจสงสัยว่าเทน้ำร้อนลงชักโครกได้ไหม? คำตอบคือ ได้ โดยน้ำร้อนจะช่วยแก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลง กรณีมีสิ่งอุดตันเป็นคราบไขมัน หรือสิ่งอุดตันที่สะสมในปริมาณน้อยเท่านั้น วิธีการคือ ให้เทน้ำร้อนประมาณ 1-2 ลิตร ลงในชักโครก 2-3 ครั้ง โดยเว้นช่วงแต่ละครั้งประมาณ 5 นาที น้ำร้อนจะทำให้คราบไขมัน สิ่งอุดตันอ่อนนุ่มและหลุดออกในที่สุด อย่างไรก็ตาม วิธีต้องระมัดระวัง เพราะหากใช้น้ำร้อนเกินไปอาจทำให้ชักโครกเกิดรอยแตกได้
 
 
2. เบกกิ้งโซดา น้ำส้มสายชู
เบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชู คู่หูสารพัดประโยชน์ที่ช่วยกำจัดคราบฝังแน่นในชักโครกได้อย่างหมดจด เนื่องจากเบกกิ้งโซดามีฤทธิ์เป็นเบส สามารถย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์อย่างคราบไขมันได้ ส่วนน้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นกรด สามารถย่อยสลายแร่ธาตุที่จับตัวกันเป็นก้อนแข็งในชักโครกได้

วิธีการใช้งาน ทำได้ง่ายๆ เพียงใส่เบกกิ้งโซดาลงในชักโครก 1 ถ้วยตวง จากนั้นตามด้วยน้ำส้มสายชูอีก 1 ถ้วยตวง ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วเทน้ำร้อนตามลงไป ปิดท้ายด้วยกดชักโครกตามปกติ เพียงเท่านี้ชักโครกก็สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้ว
 

 
3. เหล็กทะลวงท่อ
เหล็กทะลวงท่อ หรือที่เรียกกันว่างูเหล็กทะลวงท่อ อุปกรณ์ประจำบ้านที่สามารถแก้ปัญหาส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลงได้ ตัวลวดสปริงมีขนาดเล็กและยาว สามารถโค้งงอตามท่อระบายน้ำได้ดี ซึ่งการใช้งานไม่ได้ซับซ้อน เพียงสอดปลายลวดเข้าไปในท่อ จากนั้นให้หมุนมือจับเพื่อปั่นให้สิ่งอุดตันหลุดออก และไหลไปตามท่อระบาย เท่านี้ท่อก็จะไม่อุดตัน และระบายสิ่งปฏิกูลได้ตามปกติ
 

 
4. โซดาไฟ
โซดาไฟ สารยอดนิยมสำหรับปัญหาชักโครกกดไม่ลง เพราะมีฤทธิ์เป็นกรด สามารถขจัดสิ่งอุดตัน คราบไขมัน คราบโปรตีน คราบสบู่ ที่อุดตันในชักโครกได้เป็นอย่างดี ก่อนใช้งานควรสวมถุงมือ ใส่แว่นตา และผ้าปิดจมูกให้เรียบร้อย วิธีการก็คือ นำโซดาไฟ 5-8 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 0.5-1 ลิตร แล้วเทลงไปในชักโครก ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นให้เทน้ำร้อนตามลงไป แล้วกดชักโครกเพื่อล้างท่อให้สะอาดอีกครั้ง

สิ่งสำคัญคือ ต้องไม่ลืมที่จะเทน้ำร้อนตามลงไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อล้างคราบโซดาไฟที่ติดตามท่อชักโครก เพราะหากมีน้ำเย็นผ่านเข้าไป โซดาไฟจะจับตัวเป็นก้อนจนอุดตัน นำมาสู่ปัญหาชักโครกกดไม่ลงอีกครั้ง
 

5. ใช้เทปกาวหรือเทปปิดกล่องปิดชักโครก
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า เทปกาวธรรมดาๆ ช่วยแก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลงได้ เพียงใช้เทปกาวหรือเทปปิดกล่องมาห่อปิดปากโถชักโครกให้สนิท ไม่มีรูให้อากาศผ่าน จากนั้นกดชักโครกหลายๆ ครั้ง ระหว่างนี้เทปกาวจะนูนขึ้นมา ให้เราใช้มือกดรอยนูนนั้นลงไป วิธีนี้เป็นการสร้างแรงดันอากาศในชักโครก เพื่อให้ดันสิ่งอุดตันในท่อให้หลุดออก และไหลลงท่อระบายน้ำเสียไป แนะนำให้ทำซ้ำ 1-2 ครั้ง เป็นวิธีแก้ชักโครกกดไม่ลงที่ได้ผลดีอย่างไม่น่าเชื่อ


6. ใช้แปรงขัดห้องน้ำ
แปรงขัดห้องน้ำ อุปกรณ์ที่ทุกบ้านต้องมี นอกจากใช้ทำความสะอาดแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาส้วมตันกดไม่ลงได้เช่นกัน โดยนำฝั่งที่เป็นขนแปรงกดลงในรูชักโครกด้วยความเร็วและแรง เพื่อให้มีแรงดันไปดันสิ่งที่อุดตันชักโครกอยู่หลุดออก สามารถทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนสามารถกดชักโครกได้ เสร็จแล้วอย่าลืมล้างแปรงขัดห้องน้ำให้สะอาด เพียงเท่านี้ชักโครกก็กลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้ว


7. น้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจาน ไอเทมสามัญประจำห้องครัวของทุกบ้าน สามารถนำมาใช้แก้ปัญหากรณีชักโครกไม่อุดตันมากได้เช่นกัน วิธีการคือ บีบน้ำยาล้างจานประมาณ 5 ช้อนโต๊ะลงไปในชักโครก แล้วทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที จากนั้นให้ราดน้ำร้อนตามลงไป แล้วกดชักโครกตามปกติ น้ำยาล้างจานจะไปทำปฏิกิริยาล้างสิ่งอุดตันที่เกาะอยู่ตามท่อ ให้สลายและไหลลงไปตามท่อ แต่ควรระมัดระวังไม่ใช้น้ำยาล้างจานปริมาณมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดคราบน้ำยาได้


8. น้ำยาล้างท่อตัน
น้ำยาล้างท่อตัน หรือน้ำยาทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เป็นน้ำยาที่ใช้แก้ปัญหาส้วมตันโดยเฉพาะ วิธีการใช้ง่าย เพียงเทน้ำยาลงไปในชักโครก ราดน้ำตามลงไปช้าๆ ประมาณ 1 ลิตร หรือเทียบเท่าน้ำ 1 ขัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30-40 นาที ให้น้ำยาออกฤทธิ์ แล้วจึงเทน้ำตามลงไปอีกครั้ง เพียงเท่านั้นชักโครกก็สามารถกดน้ำไปตามปกติ

น้ำยาล้างท่อตัน สามารถใช้กับท่อน้ำหลายประเภทภายในบ้าน เช่น ท่ออ่างล้างหน้า ท่อน้ำห้องครัว เป็นต้น ซื้อมาไว้ติดบ้าน รับรองว่าคุ้มอย่างแน่นอน แต่การใช้งานมีข้อควรระวัง คือขณะใช้งานควรสวมถุงมือยาง แว่นตา และผ้าปิดจมูกทุกเครั้ง เพื่อระวังไม่ให้น้ำยาเข้าตา ถูกผิวหนัง หรือสูดดม เพราะน้ำยามีฤทธิ์กัดกร่อนอาจทำให้เกิดอันตรายได้


9. เลือกชักโครกที่มีคุณภาพ
ท้ายที่สุดแล้ว แนะนำให้เลือกซื้อสุขภัณฑ์หรือชักโครกคุณภาพดีตั้งแต่แรก ถือเป็นวิธีแก้ปัญหาระยะยาวได้เป็นอย่างดี โดยชักโครกที่ดี ต้องใช้วัสดุที่แข็งแรงทนทาน มีระบบระบายน้ำที่ดี มีการรับประกันสินค้า ช่วยทำให้เราสบายใจแม้เกิดปัญหาภายหลัง
 
การดูแลรักษาชักโครกไม่ให้อุดตัน
 
สำหรับการดูแลชักโครกที่บ้าน ทำได้ไม่ยาก เพียงกดชักโครกทุกครั้งหลังใช้เสร็จ หมั่นทำความสะอาดชักโครกด้วยน้ำยาทำความสะอาดชักโครกโดยเฉพาะเพื่อชะล้างคราบสกปรก ไม่ให้เกิดการอุดตันในอนาคต และสิ่งสำคัญ ห้ามทิ้งสิ่งของลงไปในชักโครก เพราะอาจทำให้ส้วมอุดตันได้ง่าย
 
สรุปบทความ
 
เป็นอย่างไรกันบ้างกับทริคดีๆ  ที่เรานำมาฝาก ต้องบอกว่าทั้ง 9 วิธีนี้ ส่วนใหญ่สามารถใช้ของที่มีอยู่ในบ้านแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง ทว่าถ้าชักโครกบ้านใครที่ทำตามวิธีดังกล่าวแล้วไม่ได้ผล ทำวิธีนั้นก็แล้ว วิธีนี้ก็แล้ว ชักโครกก็ยังกดไม่ลง แนะนำให้เรียกผู้เชี่ยวชาญ หรือช่างมืออาชีพมาตรวจสอบและแก้ไขปัญหาต่อไป ทางที่ดีควรป้องกันไว้ก่อนแก้ไข ด้วยการเลือกชักโครกคุณภาพดี ผ่านการรับรองมาตรฐาน ประกอบกับมีกระบวนการติดตั้งที่ดี ก็ยิ่งช่วยให้ใช้งานได้ดี รวมทั้งสามารถช่วยป้องกันปัญหาส้วมตัน และชักโครกกดไม่ลงได้

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy